บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม
บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม
1.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม...
"คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายข้อมูล เปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ "
จากความหมายจะเห็นว่า เครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้ 3 อย่างคือ
1. รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้หมายถึงชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งเราเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่วนข้อมูลนั้นอาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล
2. ทำการประมวลผล หมายถึงการจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ทำได้โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น
3. แสดงผลลัพธ์ คือการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อยแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้"
1.2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม
1.3 การสนทนาของแมวเหมียว...เรื่ององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
1.4 ความหมายและหน้าที่ของแป้นพิมพ์..
" แป้นพิมพ์ ( keyboard ) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เพื่อสั่งให้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดำเนินการและแสดงผลออกทางจอภาพ (Monitor) แป้นพิมพ์ทางคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบคล้ายกับแป้นพิมพ์เครื่องพิมพ์ดีด คือ มีแป้นพิมพ์ที่แต่ละแป้นตัวอักษรแถวบนหรือแถวล่างได้ แต่แป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์มีประมาณ 101-104 แป้น แป้นพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นทำหน้าที่ต่างกัน ได้แก่ แป้นฟังก์ชั่น แป้นตัวเลข แป้นควบคุม ไฟบอกสถานะ "
การใช้งานแต่ละปุ่มบนแป้นพิมพ์
- ปุ่ม Enter ใช้สำหรับขึ้นบรรทัดใหม่เมื่อต้องการพิมพ์เอกสาร
- ปุ่ม Backspace ใช้สำหรับลบตัวอักษรที่อยู่หน้าเคอร์เซอร์ทีละ 1 ตัวอักษร
- ปุ่ม Esc ใช้สำหรับการยกเลิกคำสั่งที่ทำไปแล้ว หรือใช้ออกจากโปรแกรมนั้น ๆ
- ปุ่ม Tile ใช้สำหรับสลับภาษาในการพิมพ์ข้อมูลระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ปุ่ม Tab ใช้สำหรับการจัดตำแหน่งของข้อความให้มีคอลัมน์ตรงกัน
- ปุ่ม Caps Lock ใช้สำหรับพิมพ์อักษรภาษาไทยที่อยู่แถวบนและพิมพ์อักษร ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่
- ปุ่ม Shift ใช้สำหรับพิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยที่อยู่แถวบน หรืออักษรภาษาอังกฤษ
- ตัวพิมพ์ใหญ่ เมื่อกดปุ่ม Shift ค้างไว้
- ปุ่ม Space Bar ใช้สำหรับการเว้นวรรคตัวอักษรทีละตัวอักษร
- ปุ่มตัวอักษร Arrow key ใช้สำหรับการควบคุมการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์ไป
- ทางซ้าย - ขวา บน - ล่าง
- ปุ่มแผงตัวเลข Number Key ใช้สำหรับป้อนข้อมูลที่เป็นตัวเลข
1.5 ความหมายและวิธีการใช้เมาส์
เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคุมตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพให้ผู้ใช้สั่งงานโดยการกดปุ่มบนเกมส์ เช่น การเลือกเมนูคำสั่ง การย้ายข้อความ โดยทั่วไปเมาส์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน อาจมีปุ่มกด 2 ปุ่ม หรือมากกว่า แต่ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะเป็นแบบ 2 ปุ่ม คือ ปุ่มซ้ายและขวา โดยมีลักษณะการใช้งานดังต่อไปนี้
คลิก (Click) เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปตำแหน่งที่ต้องการเลือก คลิกแล้วปล่อยที่ปุ่มด้านซ้ายของเมาส์ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการเลือกไอคอนหรือปุ่มคำสั่งหรือคลิกเลือกเมนูที่ต้องการ
| |
คลิกขวา (Right-click) เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปตำแหน่งที่ต้องการเลือก คลิกแล้วปล่อยที่ปุ่มด้านขวาของเมาส์ 1 ครั้ง มักเป็นการเลือกใช้เมนูลัด
| |
ดับเบิลคลิก (Double-click) เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปตำแหน่งที่ต้องการเลือก คลิกแล้วปล่อยที่ปุ่มด้ายซ้ายของเมาส์ติดกันอย่างรวดเร็ว 2 ครั้ง
| |
แดรก (Drag) เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปตำแหน่งที่ต้องการเลือกกดที่ปุ่มด้านซ้ายของเมาส์ค้างไว้ พร้อมกับลากเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ มักใช้ในการเคลื่อนย้ายวัตถุ หรือการสร้างขอบเขตของการเลือกวัตถุ
|
1.6 วิธีการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม
คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งานผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคือ อย่างไรเช่นในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณ ควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไร มีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไร ระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร ดังนั้น ห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็น ห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่น และความชื้น ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหายได้ ถ้าหากว่าแผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วนได้รับความร้อนสูง หรือ ตกกระทบกระแทกแรง ๆ สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์ ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
วิธีการดูแลรักษาแป้นพิมพ์(keyboard)
1.ปัดฝุ่นและทำความสะอาดเป็นประจำ
2.อย่าทำน้ำหกถูกแผงแป้นพิมพ์
3.คลุมผ้าทุกครั้งหลังการใช้งาน
วิธีการดูแลรักษาจอภาพ (Monitor)
1.ทำความสะอาดหน้าจอ
2.อย่านำแม่เหล็กเข้าใกล้จอภาพ
วิธีการดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ (Printer)
1.ปิดเครื่องพิมพ์ทุกครั้งหลังใช้งาน
2.เมื่อกระดาษติดอย่ากระชากให้ค่อยๆดึงออก
วิธีการดูแลรักษาเมาส์ (Mouse)
1.ควรวางเมาส์ไว้ที่แผ่นรองเมาส์ทุกครั้ง
2.อย่ากระแทกเมาส์กับพื้น
3.ทำความสะอาดเมาส์บริเวณลูกกลิ้ง
วิธีการดูแลรักษาตัวเครื่อง (case)
1.ไม่ควรให้เครื่องอยู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
2.ไม่ควรทำน้ำหรืออาหารหกใส่เครื่อง
การดูแลรักษาแผ่นดิสก์ (Diskette)
1.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปไว้ในที่ที่มีความชื้นสูงหรือเปียก
2.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปเข้าใหล้กับวัตถุที่มีสนามแม่เหล็ก
3.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปวางไว้ในที่ที่มีอุณภูมิสูงหรือที่ที่มีแสงแดดส่องถึง
4.ไม่ควรขีดหรือเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นดิสก์ถ้าจะต้องเขียนให้เขียนลงบนป้าน
ที่มีชื่อไว้สำหรับติดบนแผ่นดิสก์
5.ไม่ควรงอแผ่นดิสก์ เพราะอาจจะทำให้แผ่นชำรุดและอาจจะทำให้ไม่สามารถ
เก็บบันทึกข้อมูลได้
6.ห้ามนำแผ่นดิสก์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่กำลังอ่านข้อมูล
การดูแลรักษาแผ่นซีดี (Cd)
1.ควรเก็บแผ่นซีดีไว้ในกล่อง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ
2.ไม่ควรขีดหรือเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นซีดี เนื่องจากจะทำให้แผ่นซีดีเกิดรอย
ขีดข่วนและเสียหาย ใช้งานไม่ได้
3.การจัดแผ่นซีดีที่ถูกต้อง ควรใช้น้วชี้หรือนิ้วกลางใส่ลงไปที่ช่องตรงกลางของ
แผ่นแล้วใช้นิ้วอื่นจับตรงส่วนขอบของแผ่น ไม่ควรใช้มือจับบริเวณด้านหน้าหรือด้าน
หลังของแผ่นซีดี เนื่องจากคราบน้ำมันหรือสิ่งสรกปรกบนมืออาจทำให้แผ่นซีดีใช้งาน
ไม่ดีเท่าที่ควร
4.ไม่ควรงอแผ่นซีดี เนื่องจากแผ่นซีดีเป็นพลาสติดแข็งไม่มีความยืดหยุ่นซึ่งอาจจะ
ทำให้แผ่นซีดีมีโอกาสแตกหักได้ง่าย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น